วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาคกลาง


พื้นที่ของจังหวัดลพบุรี เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายสมัย เดิมเรียก ละโว้ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ มีหลักฐานที่สำคัญคือ พระปรางค์สามยอด (อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี) เป็นศิลปะเขมรสมัยบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 และมีศาลพระกาฬซึ่งเก่าแก่ในสมัยเดียวกัน
ลพบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ติดต่อกันนานนับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ปีมาแล้ว จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก รวมทั้งมีหลักฐานเอกสารและจารึกต่าง ๆ กล่าวถึงเมืองลพบุรีอยู่หลายชิ้นเช่นในพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีหลักฐานคือพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระยากาฬวรรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลมาสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.ศ. 1002 นอกจากนี้ยังมีตำนานชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญไชยใน พ.ศ. 1204 ต่อมาอีก 2 ปี คือ พ.ศ. 1206 ได้ส่งทูตล่องลำน้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้ไปปกครอง กษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดา ให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ทรงสร้างวัดจามเทวีที่เมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน จึงสรุปได้ว่าลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับและขอเชื้อสายไปปกครอง
ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมรทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรี น่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้วลพบุรีขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าเมืองลพบุรีมีความสำคัญติดต่อกันมายาวนานนับพันปี

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

วัดอ่างแก้วเป็นวัดหนึ่งในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกายมีพระเกจิอาจารย์ที่สำคัญ คือท่านพระครูพรหมโชติวัฒน์ ที่ร่ำลือเรื่องพุทธคุณ บริเวณวัด ตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ทิศเหนือติดต่อกับคลองภาษีเจริญ ตลอดแนวยาว 114 เมตร ทิศตะวันออกตกคลองขวาง มีอีกชื่อหนึ่งว่าคลองโคนอนระยะ 142 เมตร ทิศใต้มีความยาว 117ติดต่อกับถนนพัฒนาการ (เดิม) ปัจจุบันคือถนนเทอดไท ทิศตะวันตกติดต่อกับ โรงเรียนวัดอ่างแก้ว ( จีบ ปานขำ ) ระยะ 117 เมตรและที่ดินเอกชน ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มติดคลองทั้งด้านหน้าและด้านข้าง มีกำแพงก่ออิฐถือปูนกั้นตรงชิดถนน เป็นเขตประตูเข้าออกของวัด วัดนี้มีลักษณะพิเศษคือ ด้านหน้าวัดนั้นมีลานสนามทราย ซึ่งเป็นวัดนี้เป็นวัดที่มีลานทรายด้านหน้าพระอุโบสถเหลือเพียงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีมาแต่โบราณ ในโอกาศวันขึ้นปีใหม่ไทย (วันสงกรานต์) ทุกๆ ปี จะมีประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายขึ้นที่ลานทรายแห่งนี้ และสรงนำหลวงพ่อโต

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ที่ท่องเที่ยวเขตภาษีเจริญ

ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองบางหลวงน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับและเขตจอมทองและเขตบางบอน มีคลองวัดนางชี คลองตาม่วง คลองสวนเลียบ คลองวัดโคนอน คลองบางหว้า คลองสวนหลวง คลองรางบัว คลองตาฉ่ำ ลำประโดง คลองวัดสิงห์ และคลองบางโคลัด เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางแค มีคลองพระยาราชมนตชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของ คลองภาษีเจริญ ที่ขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็น พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้รี คลองบางแวก คลองบางไผ่ และคลองลัดตากลั่น เป็นเส้นแบ่งเขต